วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

Postmodern

     
                  Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด
            วิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มคิดถึง -postmodernism ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับความทันสมัย-modernism ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากความทันสมัยมีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิด -postmodernism. -Modernism
           ประเด็นแรกหรือคำจำกัดความแรกของ -modernism นั้นมาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่องสุนทรียศาสตร์ในตราประทับของ "modernism." การเคลื่อนไหวนี้นำไปสูจุดหมายปลายทางของแนวคิดศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ว่าร่องรอยจะเริ่มปรากฏในช่วงของศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม) Modernism นั้น อย่างที่ทราบกัน เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของแขนงวิชา ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณคดี และการละคอน ซึ่งต่อต้านแนวคิดแบบ Victorian ศิลปะเดิมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในช่วง "high modernism," ระหว่างปี 1910 ถึง 1930 งานวรรณกรรมในแบบฉบับของ modernism ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและทบทวน การเขียนโคลงกลอนและนิยายกันใหม่
           Postmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน
           แม้ในความเป็น -postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ Postmodernism

    Frederic Jameson
          อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ postmodernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ postmodernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ -realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย -modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็นในเวลาเดียวกัน postmodernism
            นักคิดโพสต์โมเดิร์นไม่เชื่อในโลกความจริงที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกของภาษา ซึ่งถ้าหากว่าสิ่งนอกเหนือต่าง ๆ มีอยู่จริงเขาก็ไม่สนใจที่จะต้องไปถกเถียงกัน เพราะว่าถกเถียงไม่ก็ไม่มีข้อสรุปว่าสิ่งไหนถูกผิด เนื่องจากทุกสิ่งถูกการมองโดยโลกของภาษา ซึ่งมีลูกเล่นแพรวพราวทั้งตัวภาษาเองและตัวผู้ใช้ภาษา พวกเขาจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องของภาษา วาทกรรม ตัวบท ซึ่งมีนักคิดคนสำคัญคือ 
Jacques Derrida

ปรัชญาเมธีร่วมสมัยชาวฝรั่งเศส Jacques Derrida ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "deconstruct" ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ซึ่งสิ่งที่เขาเสนอคือ การเปิดเผยให้เห็นเงื่อนงำของตัวบท (text) เพื่อเผยการจัดลำดับความสำคัญภายในตัวบทที่ไม่มีมูล การเผยให้เห็นถึงข้อสันนิษฐานที่ตั้งไว้ล่วงหน้า (presupposition) รวมถึงโครงสร้างเชิงอภิปรัชญญาที่ซ่อนอยู่ และเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวคิด logocentric (การยึดถือภาษาเป็นรากฐานการแสดงออกของความจริง) ซึ่งวิธีการ deconstruction มีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นคือ การลดทอน การสร้าง และการทำลาย (reduction, construction, and destruction) โดยกระบวนการ 3 ขั้นตอน มีความเกี่ยวข้องกันและกัน "การสร้าง" (construction) มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวพันกับ "การทำลาย" (destruction) จากนั้นจึงวิเคราะห์ "การทำลาย" (destruction) ด้วย "การรื้อโครงสร้าง" (deconstruction= abbau)  สิ่งใดๆ ที่ใน text ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏ ที่ตัวบทนั้น (text) สร้างขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิก

กล่าวโดยสรุปว่า หลักการข้างต้นนี้เป็นแนวคิดบางประการ ที่นักคิดหลังสมัยใหม่นิยมได้มองและให้ข้อเสนอในเชิงวิพากษ์วิธี ซึ่งท้ายที่สุดแล้วได้ก่อให้เกิดกระแสแนวคิดอื่นๆ ที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเด็นของการศึกษาในการพัฒนา โดยกล่าวได้ว่า "ระเบียบวิธีหลังยุคสมัยใหม่" อาจมองได้เป็น 2 นัยยะ ทั้งในแง่ "post-positivist" และ "anti-positivist" ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ในแต่ละวิธีการได้นำไปสู่การตั้งคำถามและตอบคำถามต่อสิ่งนั้นด้วยวิธีการ อย่างไร เพื่ออะไร ใครเป็นผู้กำหนด ใครเป็นผู้ตอบ ใครได้ประโยชน์ และใครเป็นผู้เสียประโยชน์ ภายใต้การถูกผลิต/สร้างสิ่งนั้นโดยผ่านวาทกรรมและการปฏิบัติการ

Jean-Francois Lyotard
Jean-Francois Lyotard ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีหลังสมัยใหม่ในระดับสุดยอด (par excellence) ในหนังสือของเขาเรื่อง The Postmodern Condition (1984; orig. 1979) ได้แนะนำถึงศัพท์คำนี้ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และได้ถูกนำไปสนทนากันทั่วไปในการถกกันเกี่ยวกับหัวข้อ postmodern ในช่วงทศวรรษหลังมานี้ ระหว่างวันเวลาดังกล่าว Lyotard ได้ตีพิมพ์งานหนังสือขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งให้การส่งเสริมฐานะสภาพต่างๆ ของหลังสมัยใหม่ในทางทฤษฎี จริยศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเขาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "อนุพรรณา" (litter narrative) ที่เน้นความสำคัญของการเล่าเรื่องในระดับแคบ

Lyotard ได้เสนอการหักล้างทฤษฎีและวิธีการของสมัยใหม่ รวมถึงทางเลือกหลังสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมชมชอบและแพร่หลายมากในหนังสือ Postmodern Theory. นอกจากนี้เขายังได้สนับสนุนเรื่องความแตกต่างและความเป็นพหุนิยมในอาณาจักร และวาทกรรมต่างๆ ทางทฤษฎี ขณะเดียวกันก็โจมตีทฤษฎีรวบยอดแบบเบ็ดเสร็จทั้งหมด และทฤษฎีต่างๆ ของความเป็นสากลอย่างมีพลัง. ในหนังสือเรื่อง The Postmodern Condition, Just Gaming (1985; orig. 1979), The Difference (1988; orig. 1983) และหนังสือในชุดอื่นๆ และบทความต่างๆ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1980s เขาได้เรียกร้องความสนใจในความแตกต่าง ท่ามกลางพหุนิยมของกฎเกณฑ์อันเคร่งครัดเกี่ยวกับถ้อยคำหรือวลีทั้งหลาย ซึ่งมีกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และวิธีการต่างๆ ของตัวมันเอง


การเน้นเรื่องเกี่ยวกับความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน(ความแตกต่าง)ของวาทกรรม ทั้งหลาย โดยให้เหตุผลว่า อาณาจักรต่างๆ เหล่านั้นในฐานะที่เป็นการวินิจฉัยทางทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการตัดสินทางด้านสุนทรียภาพ มันมีความเป็นอิสระในตัวของพวกมันเอง มีกฎเกณฑ์ต่างๆ และบรรทัดฐานของมัน ในหนทางนี้ เขาปฏิเสธความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสากลนิยม และรากฐานนิยม เช่นเดียวกับข้ออ้างต่างๆ ที่ว่า วิธีการอันหนึ่งหรือแนวความคิดชุดหนึ่งมีสถานภาพที่พิเศษในปริมณฑลต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เช่น ปรัชญา ทฤษฎีสังคม หรือสุนทรียศาสตร์ ในการถกเถียงกับสิ่งที่เขาเรียกว่าทฤษฎีก่อการร้ายและทฤษฎีรวบอำนาจ ซึ่ง Lyotard สนับสนุนลักษณะพหุนิยมของวาทกรรมและฐานะสภาพต่างๆ ที่ค้านต่อทฤษฎีหนึ่งเดียวนั้นอย่างเด็ดเดี่ยว ส่วนเรื่องของ "การพัฒนา" เขาเปรียบว่าเป็น "การเล่นเกมส์" (gaming) ทางวาทกรรมอย่างหนึ่ง

Post Modern วิพากษ์สังคมตะวันตก ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ประเด็นแรก โลกโดมเดิร์นไม่ได้นำไปสู่ความเป็นเหตุเป็นผล ความก้าวหน้า หรือความสงบสุขของมนุษย์ แต่มีหลายช่วงที่นำไปสู่ความรุนแรง เช่น สงครามโลก และการฆ่าล้างเผ่าพันต่างๆ

ประเด็นที่สอง
ระบบการเมืองของสังคมโมเดิร์นของตะวันตกไม่ได้ สะท้อนการกระจายอำนาจที่ดีเพียงพอ พวกเขาจึงเสนอให้มีการกระจายอำนาจสู่ชุมชน อำนาจของประชาสังคม อำนาจของภาคพลเมืองเพิ่มเวทีหรือพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ทางการเมืองให้คน ด้อยสิทธิต่าง ๆ

ประเด็นที่สาม
สถาบันระบบคุณธรรมของตะวันตก ยังมีคนบีบบังคับ กดดัน บีบคั้น ผู้ด้อยกว่า เช่น แรงงานอพยพต่างๆ คนกลุ่มน้อย และยังมีการกระทำแบบเดียวกันต่อประเทศอื่นๆ ด้วย

ประเด็นที่สี่
องค์ความรู้ของตะวันตกที่สร้างมาในยุคโมเดิร์นมีส่วนสร้างรับใช้และสถาบันทางการเมือง สังคม ศีลธรรม คุก โรงพยาบาล ซึ่งยังมีส่วนในการปิดกั้นและกีดกันผู้ด้อยโอกาสในสิทธิอำนาจตามประเด็นที่สาม

Post modern มองว่า ถึงแม้ว่าอดีตประเทศอาณานิคมจะได้รับเอกราชมานานแล้วแต่ก็ยังมีความคิดที่ เป็นอาณานิคมคือคล้อยตามระบบความคิดที่เป็น modernization ที่นิยมชื่นชมความคิด ค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นองค์ความรู้ที่เป็นตะวันตกเป็นอย่างมาก


Post modern มองว่าองค์ความรู้ตั้งแต่ปรัชญา จริยธรรม การเมือง การปกครอง วรรณกรรมคลาสสิค ฯลฯ ทั้งหมดเป็นเพียงเพื่อสร้างภาพสร้างตัวตนที่ดีงามมีเหตุผลให้ตะวันตก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไปกดทับ เพิกเฉย ละเลย ลืมประวัติศาสตร์ของตัวตน การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมของผู้อื่นหรือคนอื่นเป็นการยกย่องประวัติศาสตร์และ ให้คุณค่าในเรื่องของตนเองและลดคุณค่าในเรื่องที่เป็นของผู้อื่น ซึ่งเป็นวิธีการคิดแบบแยบยล


ลักษณะ Post modern 

1. การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง 

2. การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน
3. Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
4. Post modern ปฏิเสธ จุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไป จากบริบทอย่างสิ้นเชิง


 สรุปได้ว่า ท่ามกลางยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสความคิดและสภาพสังคมที่หลากหลาย แยกย่อย กระจัดกระจายนั้น ดูเหมือนแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern) กำลังเป็นกระแสที่มีอิทธิพลมากพอต่อนักคิดนักปรัชญา นักการเมือง ศิลปิน นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา นักวัฒนธรรมศึกษา หรือแม้แต่นักการศึกษาที่ได้อาศัยแนวคิดเชิงวิพากษ์ในการตั้งคำถามต่อ ประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งในระดับจุลภาคและระดับสังคม ซึ่งคาดว่าแนวโน้มจะยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องไป หากแต่กระบวนทัศน์ทางสังคมในอนาคตจะเป็นอะไร ก็ยังเป็นโจทย์ที่น่าคิดและหาคำตอบอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจต่อท่าทีและวิถีทรรศน์ในยุคหลังสมัยใหม่ น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยที่จะทำให้เรามองโลกมองสังคมอย่าง "เปลี่ยนมุม" มากขึ้น แน่นอนว่า แม้กระแสแนวคิดหลังสมัยใหม่จะเรียกร้องให้ตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ หรือวิพากษ์เรื่องต่างๆ อย่างเข้มข้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า หลังสมัยใหม่เป็นอะไรที่สุดโต่งจนปฏิเสธโลกไปทุกเรื่อง ตรงกันข้ามหลังสมัยใหม่พยายามเสนอว่า แทนที่มนุษย์เราจะมองโลกมุมเดียวและเชื่อในคำตอบสุดท้าย เราน่าจะเปลี่ยนมุมเปลี่ยนท่าทีใหม่ที่ขยายวงกว้างขึ้น มนุษย์จะได้ไม่ "ติดกับดัก" ใดๆ จนหาทางออกไม่ได้ และมากกว่านั้น ท่ามกลางโลกเสรีภาพ แม้ในภาพรวมโลกาภิวัตน์จะนำมาซึ่งการ "แข่งขัน" เสรี หากแต่หลังสมัยใหม่เรียกร้องให้มนุษย์หันกลับมามองเสรีภาพที่พึงนำมาซึ่งการ "แบ่งปัน" มากกว่าสิ่งใด หลังสมัยใหม่ยังชี้ให้เห็นว่า กระแสความคิดที่หลากหลาย มิใช่หมายถึงการแยกขาดออกจากกัน แต่ความหลากหลายนั้นต่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และภายใต้ความสัมพันธ์ที่โยงใยกันนี้ มนุษย์และสังคมจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างเติมเต็มซึ่งกันและกัน และ "รู้เท่าทัน" ทั้งวันที่ผ่านมาและวันที่จะผ่านไป




ที่มา : ธีรยุทธ บุญมี, โลก โมเดิร์น โพสต์ โมเดิร์น . วิญญูชน.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : 2550 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น