วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยวทางน้ำในทวีปยุโรป


ประเทศฮังการี
                                       “บูดาเปสต์” ไข่มุกแห่งแม่น้ำดานูบ


          “สาธารณรัฐฮังการี” (Republic of Hungary) เป็นประเทศหนึ่งทางแถบยุโรปที่มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เพราะเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่ในตอนศตวรรษที่ 9 ซึ่งประเทศฮังการีนี้มีความงดงามในทางลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างมาก จนนักท่องเที่ยวจากหลายมุมโลกก็อยากจะเดินทางมาสัมผัสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้มาเที่ยวชมเมืองหลวงอันงดงามที่มีชื่อว่า “บูดาเปสต์” (Budapest) เป็นนครหลวงของประเทศฮังการีที่รวมเอาสองเมืองเข้าด้วยกัน คือเมือง "บูดา" กับเมือง "เปสต์" รวมกันเมื่อปี 1873 บูดาเปสต์นั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่มีความงดงามติดอันดับโลก จนได้รับสมญานามว่า “บูดาเปสต์ ไข่มุกแห่งแม่น้ำดานูบ” ด้วยเพราะทัศนียภาพความงามบนสองฝั่งแม่น้ำดานูบ (Danube) ยามพระอาทิตย์ตกดิน หรือที่คนฮังกาเรียนเรียกขานว่า ดูนา (Duna) เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านกลางเมือง ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำดานูบ มีภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อนเรียกว่าฝั่งบูดา (Buda) เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมโบราณและศิลปวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ส่วนฝั่งเปสต์ (Pest) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นราบ เป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญของเมือง
St. Stephen's Basilica
          
           เมืองนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังและงดงามให้เที่ยวชมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มหาวิหารเซนต์สตีเฟน(St.Stephen Basilica) ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสูงโดดเด่นเป็นสง่าในฝั่งเปสต์ เป็นมหาวิหารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เซนต์สตีเฟน กษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรฮังการี สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1851 เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ.1905 ใช้เวลากว่า 54 ปีในการก่อสร้าง มหาวิหารแห่งนี้มีความสูงถึง 96 เมตร ถือว่าป็นอาคารที่มีความสูงที่สุดในบูดาเปสต์ ภายในมหาวิหารโอ่โถงอลังการท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบ การตกแต่งภายในถึงแม้จะดูเรียบง่ายแต่ก็แฝงไว้ด้วยความงดงามทางสถาปัตยกรรม  


อาคารรัฐสภา (Hungarian Parliament)
           อาคารรัฐสภาฮังการี (Hungary Parliament) ถือว่าป็นสัญลักษณ์ของฮังการี อาคารรัฐสภาตั้งโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำดานูบบนฝั่งเปสต์ เป็นอาคารรัฐสภาที่ชาวฮังกาเรี่ยนภูมิใจว่าเป็นอาคารรัฐสภาที่สวยที่สุดใน โลก เพราะตัวอาคารมีความสวยงามด้วยสภาปัตยกรรมแบบนีโอโกธิคที่ดูคลาสสิคด้วย หลังคาสีแดง อาคารรัฐสภาแห่งนี้เริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ.1885 และใช้เวลากว่า 20 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ โดยรูปแบบอาคารได้รับอิทธิพลมาจากอาคารรัฐสภาแห่งลอนดอน สหราชอาณาจักร
       ภายในอาคารรัฐสภาประกอบด้วยห้องมากมายถึง 700 ห้อง มีประตูทางเข้า 27 แห่ง บนตัวอาคารประดับด้วยยอดสูง 365 ยอด ซึ่งการเดินชมภายในรัฐสภาจะจัดเป็นกลุ่มย่อยๆ และมีไกด์คอยพานำชมห้องต่างๆ ซึ่งแต่ละห้องตกแต่งอย่างสวยสดวิจิตรอลังการงดงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง

Chain Bridge


            สะพานเชน (Chain Bridge) หรือสะพานโซ่ เป็นอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างที่เป็นดั่งสัญลักษณ์ของบูดาเปสท์ สะพานเชนแห่งนี้เป็นสะพานถาวรแห่งแรกที่ทอดตัวข้ามแม่น้ำดานูบ สร้างโดยวิศวกรชาวอังกฤชื่อ William Tierney Clark เหล็กทุกชิ้นล้วนนำมาจากอังกฤษ เป็นสะพานที่มีความสวยงามอย่างมาก มีรูปปั้นแกะสลักสิงห์โตที่สะพาน ยิ่งยามค่ำคืนสะพานจะสว่างไสวไปด้วยไฟราวที่ถูกประดับประดาไว้ยิ่งสร้างความ งามตาให้กับสะพานอย่างยิ่งยวด

Fishermen’s Bastion

ป้อมชาวประมง (Fishermen’s Bastion) ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1905 โดยกลุ่มชาวประมงฮังกาเรียน สร้างขึ้นไว้เพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของชาวประมงผู้เสียสละชีวิตปกป้องบ้าน เมืองในคราวที่ถูกพวกมองโกลเข้ามารุกรานเมื่อปี 1241 - 1242 บนป้อมชาวประมงนี้ถือว่าเป็นจุดชมวิวรอบเมืองบูดาที่สวยที่สุด สามารถชมความงามของแม่น้ำดานูบได้แบบพาโนรามา มองเห็นสะพานเชน และอาคารรัฐสภาฮังการีริมแม่น้ำดานูบที่งดงามตรึงตา ประทับใจกับการที่ได้มาเยือน “บูดาเปสต์” นครหลวงอันงดงามแห่งสาธารณรัฐฮังการี






ที่มา : http://www.khonkaenlink.info/tour/tour_thai.asp?id=8905
http://www.khonkaenlink.info/tour/tour_thai.asp?id=7368
http://www.google.co.th/imghp?hl=th&tab=wi

โดย วรภพ ปิยนิรันดร์

.................................................................................................................................

โดย พัชรพล จิตติเสถียรพร

เมืองอิสตันบูล ตุรกี

  •  ตุรกี (Turkey) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในบริเวณเธรซ บนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตอนใต้ และคาบสมุทรอานาโตเลียในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและแทรสออกจากกันคือทะเลมาร์มารา และช่องแคบตุรกี (ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลส) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป

  • ที่ตั้ง
    ส่วนหนึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป (ร้อยละ 3) อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเอเชียตะวันตก ทิศเหนือติดทะเลดำ ทิศตะวันออกติดประเทศจอร์เจียและประเทศอาร์เมเนีย ทิศใต้ติดประเทศอิรัก ประเทศซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดประเทศบัลแกเรียและประเทศกรีซ


  • เมือง อิสตันบูล ประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ( Bosphorus)  ซึ่งหมายความว่า ประเทศตุรกีเป็นประเทศเดียวในโลกที่พื้นที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป นั้น คือ ทวีปเอเชีย และ ทวีปยุโรป  ช่องแคบบอสฟอรัส เป็นช่องแคบเป็นพรมแดนระหว่างตุรกีที่อยู่ในทวีปยุโรป กับ อานาโตเลียของเอเชีย  เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดาแนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับ ทะเลอีเจียน  ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาแนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่าง ทะเลดำ กับทะเลมาร์มารา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ช่องแคบบอสฟอรัสยาว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุด 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุด 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร  ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นมาก

  • ในอดีตเมืองอิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าเป็นจำนวนมากในบริเวณ นั้น  จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซมเทียม  คอนสแตนติโนเปิล สแตมโบล อิสลามบูล เป็นต้น  คำว่า '' อิสตันบูล" มาจากภาษากรีก แปลว่า " ในเมือง"   หรือ   "ของเมือง"   เมืองอิสตันบูลเป็นเมืองที่สวยงาม คุณจะได้สัมผัสกับกลิ่นอายความเป็นยุโรปอีกฝากหนึ่ง และกลิ่นอายของเอเชียอีกฝากหนึ่ง

การท่องเที่ยวทางน้ำของเมืองอิสตันบูล ช่องแคบบอสฟอรัส

     ชื่อบอสฟอรัส มาจากเทพปกรณัม Bous แปลว่าแม่วัวในภาษากรีกโบราณ poros หมายถึงทางข้าม
‘Bosphorus’ จึงมีความหมายว่าทางแม่วัวข้าม แม่วัวเคยเป็นหญิงงามที่มีชื่อว่า ไอโอ (Io) ซึ่งซุส ราชาแห่งเทพเจ้ามีสัมพันธ์ด้วย เมื่อเฮรา มเหสีของซุสรู้เรื่อง ซุสจึงกลบเกลื่อนด้วยการสาปไอโอให้เป็นแม่วัว แต่เฮราผู้ชาญฉลาดได้ให้แมลงดูดเลือดต่อยไอโอที่สะโพกแล้วไล่เธอออกไปจาก ช่องแคบ 

เมื่อก่อน การข้ามช่องแคบบอสฟอรัสจากฝั่งยุโรปสู่ฝั่งเอเชียต้องใช้เรือเท่านั้น และถ้าแม่น้ำเป็นน้ำแข็งก็ข้ามไปไม่ได้ แต่เมื่อถึงปลายปี ค.ศ. 1973 สะพานบอสฟอรัสซึ่งได้กลายมาเป็นสะพานแขวนที่ยาวเป็นอันดับสี่ของโลก สร้างเสร็จสมบูรณ์ การคมนาคมข้ามแดนจึงเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น แต่หลังเปิดใช้ก็เกิดปัญหารถติดบนสะพานอย่างหนัก จึงต้องสร้างสะพานแห่งที่สอง คือ สะพานฟาติห์ และแห่งที่สามกำลังร่างแบบกันอยู่

ถึงอย่างไรเรือก็ยังเป็นทางเลือกที่นิยมอยู่ ทั้งสำหรับชีวิตประจำวันของชาวอิสตันบูล และสำหรับ
นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันมาไม่ขาดสาย เรือล่องบอสฟอรัสมีทั้งแบบเรือโดยสารที่จอดตามท่าต่างๆ และแบบเหมาลำ เส้นทางยอดนิยมเป็นเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือเอมิโนนูไป อนาโดลู คาวาอือ เรือจอดป้ายแรกที่เบชีคตัส  หรือพิพิธภัณฑ์เรือ (ฝั่งยุโรป) ผ่านพระราชวัง โดลมาบาเช ถัดมาคือพระราชวังชีราอาน เคยเป็นที่ประทับของสุลต่านอับดุลอาซิซ ถูกไฟไหม้ในทศวรรษ 1920 ปัจจุบันเป็นโรงแรมชีราอาน โฮเตล เคมปินสกี้ อันเลิศหรู ตรงข้ามกันเป็นฝั่งเอเชียที่เรียกว่า เฟติ อาห์เมต ปาซา ยาลึ เรียงรายไปด้วยเรือนไม้ฤดูร้อน และสถานทูตต่างชาติในยุคออตโตมัน






ใต้ สะ พานบอสฟอรัสฝั่งยุโรปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสีสัน ทั้งหอศิลป์ บาร์ ร้านอาหารมีระดับ บริเวณนี้ในอดีตเป็นหมู่บ้านออร์ตาเคอย์ ถัดมาคือ เบย์เลอร์เบยี ซารายึ ตำหนักเล็กขนาด 30 ห้อง ของสุลต่านอับดุล  อาซิซ จากนั้นเรือจะล่องสู่ย่านชานเมืองที่สงบและมีเสน่ห์แบบโบราณ อย่าง คานลึจา ที่มีโยเกิร์ตอร่อยขึ้นชื่อ อาร์นาวูตเคอย์ (หมู่บ้านอัลบาเนีย) และอานาโคลูฮีซารึ (ปราสาทอนาโตเลีย) ที่อยู่บนฝั่งเอเชีย ส่วนที่อยู่เยื้องกันบนฝั่งยุโรปเป็น รูเมลีฮีซารึ (ปราสาทเธรซ หรือปราสาทเครื่องตัดคอ) ที่สร้างโดยสุลต่านเมห์เมตผู้พิชิต ปราสาททั้งสองดูงามแปลกตาและไม่ค่อยน่ากลัว แต่ในอดีตคือเคยใช้เป็นที่บัญชาการและติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ในการตัดความ ช่วยเหลือที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะได้รับ เพื่อจะปิดล้อมกรุงในปี ค.ศ. 145


                เมื่อเรือลอดใต้สะพานลอดช่องแคบแห่งที่สอง (สะพานฟาติห์) เสียงอึกทึกในตัวเมืองจะแผ่วลง เหลือแต่เสียงหวูดเรือประมงเล็กๆ ที่กลับจากหาปลาตอนกลางวัน และเรือบรรทุกน้ำมันของรัสเซียและโรมาเนียที่แล่นเข้าออกช่องแคบบอส ฟอรัสและดาร์ดาแนลส์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพอดีตที่รัสเซียถือเอาช่องแคบตุรกีเป็นกุญแจปิดล็อก ประตูหลังบ้านของตน

ท่าเรือปลายๆ ทางมีตลาดปลาและร้านอาหารทะเลจำนวนมาก ทั้งท่าเรือเยนีเคอย์, ซารีแยร์, เบย์คอซ และท่าสุดท้ายที่ อนาโดลู คาวาอือ ลองเลือกสักร้านเพื่อชิมอาหารทะเลสดๆ ที่ปรุงอย่างอร่อย เป็นการซึมซับกลิ่นอายของอิสตันบูล นครแห่งพันหนึ่งราตรี

ค่าโดยสารเรือล่องบอสฟอรัส

เรือโดยสารแบบเฟอร์รี่ :
เที่ยวเดียว (ต่อคน) 1.75 ยูโร (87.50 บาท) ไป - กลับ 3.75 ยูโร (187.50 บาท) เวลาออก 10.30 น. และ 13.35 น.

เรือโดยสารแบบส่วนตัว :ประมาณคนละ 10 ยูโร (ต่อรองได้) เรือจะแล่นโดยไม่หยุดแวะจนไปถึงปราสาทเธรซ ถึงจะหยุดให้ขึ้นจากเรือไปรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนจะแล่นกลับ ใช้เวลาทั้งหมด
ประมาณ 3 ชั่วโมง เรือเที่ยวแรกออกเวลา 10.30 น. และสิ้นสุดในเวลา 18.00 น. สำหรับฤดูร้อน และ 16.00 สำหรับฤดูอื่น *** ซื้อตั๋วและลงเรือที่ท่าเรือเอมิโนนู



นอก จากความสวยงามแล้วช่องแคบบอสฟอรัสยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในการ ป้องกันประเทศตุรกีอีกด้วย เพราะ มีป้อมปืนตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องแคบเหล่านี้ ว่ากันว่าจะกระทั่งถึงยุคของ การนำเอาเรือปืนใหญ่มาใช้ และไม่เคยปรากฏว่า กรุงอิสตันบูลถูกถล่มจนเสียหายอย่างหนักมาก่อนเลย ทั้งที่เป็นเพราะป้อมปืนดังกล่าวนี่เอง   ในปีค.ศ.1973 มีการเปิดใช้สะพานบอสฟอรัส ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางไปมาระหว่างฝั่งเอเชีย และยุโรปสะดวกมากขึ้น ขณะล่องเรือท่านจะได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ สองข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังโดลมาบาเช่ หรือบ้านเรือนสไตล์ยุโรปของบรรดาเศรษฐี ซึ่งล้วนแต่สวยงามตระการตาทั้งสิ้น




ที่มา     http://freedomfei.blogspot.com/2011/01/blog-post.html



วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบศักดินา

ระบบศักดินาไทย




            ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง
         ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อ ประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
           ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น

นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าศักดินาแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
ก. ศักดินา เป็นระบบในสังคมโบราณที่ใช้กำหนดสิทธิและหน้าที่ ของเจ้านาย ขุนนาง ตลอดลงมาจนถึงไพร่ไว้อย่างทั่วถึงตามพระราชกำหนดกฎหมาย ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ที่เสนอความเห็นดังกล่าวได้แก่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวไว้ว่ามีข้อน่าสังเกตอยู่ว่า การวัดศักดิ์หรือศักดินาของคนในประเทศนั้น ใช้มาตราวัดที่ดินคือไร่ เป็นเครื่องวัด ทั้งนี้ทำให้น่าคิดไปว่า ระบบศักดินาของไทยนั้น ในระยะเริ่มอาจเกี่ยวกับการถือที่ดินเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับระบบฟิวดัลของฝรั่ง แต่ถ้าพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ปรากฏว่าเคยมีการถือที่ดินกันตามศักดินา เพราะฉะนั้นถ้าคิดอีกทางหนึ่งแล้วก็น่าจะคิดได้ว่า สังคมเมืองไทยนั้นเป็น สังคมกสิกรรม เมื่อถึงคราวที่จะวัดศักดิ์ของคน ผู้ที่เริ่มคิดจะวัดศักดิ์ของคนนั้น อาจนึกถึงมาตราวัดที่ดินได้ก่อนสิ่งอื่นก็ได้ มิฉะนั้นคำว่า ศักดินานั้นอาจแปลแต่เพียงว่า นาแห่งศักดิ์ ก็ได้ เพื่อให้เห็นแตกต่างกับนาที่เป็นเนื้อที่ดินสำหรับปลูกข้าวหรือประกอบ กสิกรรมอย่างอื่น
มี ผู้คัดค้านอีกว่า ตัวเลขของศักดินาเป็นเครื่องกำหนดสิทธิและอำนาจในการปกครองที่ดินนั้นไม่น่า เป็นไปได้ เพราะประการแรก สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ดินมิได้มีค่ามากที่สุด เพราะที่ดินสมัยนั้นมีเหลือเฟือ ประการที่สอง ถ้ามีการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจริงๆ คนที่ถือกรรมสิทธิ์เหล่านี้จะไปหาคนที่ไหนมาทำนาบนผืนดินของตน ในเมื่อสังคมไม่มีระบบทาสติดที่ดินเหมือนสังคมตะวันตก ประการที่สาม จะเห็นได้ว่าคดีพิพาทที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นเรื่องพืชผล การเน้นเรื่องที่ดินไม่ได้เน้นตัวที่ดินแต่เน้นที่พืชผล ถ้าเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ใครก็เข้าไปหักร้างถางพงได้ ดังปรากฏในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาตรา ๕๕ และประการสุดท้ายกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เหลือตกทอดมาปัจจุบัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินมากมาย แต่ไม่มีมาตราเดียวที่กล่าวถึงการที่ขุนนางหรือผู้ใดมีที่ดินจับจองเกิน ศักดินา ดังนั้นศักดินาจึงไม่น่ามีความหมายถึงสิทธิในการจับจองที่ดิน
ข.ระบบศักดินา เป็นระบบที่ว่าด้วยกรรมสิทธิ์และอำนาจในการครอบครองที่นาของบุคคล ได้มากน้อยต่างกันตามยศศักดิ์ ผู้เสนอความเห็นมีดังต่อไปนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า "เพราะข้าราชการสมัยก่อนไม่มีเบี้ยหวัดเงินเดือน ที่ดินคือที่นาเป็นสมบัติอันมีค่ามากกว่าสิ่งอื่น เมื่อไม่ได้มีการแบ่งที่ดินกันและให้คนมีที่ดินมากน้อยต่างกันตามกำลังยศ ศักดิ์ จึงตั้งพระราชกำหนดศักดินากำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา"
ดำ เนิร เลขะกุล กรรมการชำระประวัติศาสตร์ กล่าวว่า "ทำเนียบศักดินาเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดศักดินาหรือค่าของพลเรือนแต่ ละคนว่า บุคคลชั้นใดมีศักดินาเป็นพื้นที่จำนวนกี่ไร่
ค.ระบบ ศักดินา คืออำนาจในการครอบครอง ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยในการทำมาหากิน เป็นระบบขูดรีดโดยชนชั้นสูงที่จะได้ประโยชน์จาก ค่าเช่า ภาษีและอื่นๆ ผู้เสนอความเห็นได้แก่
จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่า ระบบศักดินาเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อให้ชนชั้นสูงและพระภิกษุได้ครอบครองปัจจัยในการผลิตคือที่ดิน ซึ่งเป็นสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่งในสังคมที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การ เกษตร ในระบบศักดินาจะมีทั้งผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินจริงๆ ซึ่งเป็นกลุ่มน้อย และผู้ที่ได้เพียงสิทธิในการครอบครองทำผลประโยชน์เท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมคือ ไพร่
ฉัตร ทิพย์ นาถสุภา นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวสรุปได้ว่า ระบบเศรษฐกิจศักดินาผู้เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ขูดรีดชาวนา โดยให้ชาวนารับช่วงที่ดินไปทำนา แล้วบังคับให้มอบผลผลิตแก่ตน ต้องถูกเกณฑ์แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน

             ทั้งสามประเด็นนี้ คือทัศนะต่างๆเกี่ยวกับความหมายของ "ศักดินา" เรื่องราวเกี่ยวกับศักดินาปรากฏแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยบ่งบอกไว้ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และนาทหารหัวเมือง ศักดินาจึงน่าจะหมายถึงกรรมสิทธิ์ในการถือที่นากำหนดตามชั้นของขุนนางว่าจะ จองที่นาได้สูงสุดจำนวนกี่ไร่ แล้วแต่ศักดินาและจำนวนคนของตน นอกจากนั้นศักดินายังเป็นเครื่องกำหนดหน้าที่ ขอบข่ายความรับผิดชอบ อภิสิทธิ์ สิทธิแห่งอำนาจ ฐานะในสังคมตั้งแต่ชั้นเจ้านาย ขุนนาง ลงมาถึงไพร่และทาส ศักดินาในระยะแรกซึ่งอาจมีมาก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว อาจตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศักดินาตอนแรกคงไม่ยุ่งยากเพราะคนยังไม่มาก และมีการพระราชทานที่ดินให้จริงๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต่อมาภายหลังต้องจัดให้เป็นระบบเพราะคนมากขึ้น ผืนดินน้อยลง การให้ศักดินาก็เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอาณาจักร เพื่อผู้นั้นจะได้บุกเบิก ขยันทำมาหากินบนผืนดินที่ได้รับพระราชทาน การพระราชทานศักดินาต้องทรงคำนึงถึงความสามารถของผู้รับด้วย


ศักดินายุโรป

พื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบ ที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร

ธรรมชาติ ของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิ ของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตก เป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น

บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้ อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบ ต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็น เกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)

ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้ มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากิน แปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์

ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอัน ระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ใน ฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดิน แดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอัน สำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษใน ปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการ บริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับ ผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด

ระดับชั้นในระบบศักดินา
 ระบบศักดินา หรือ ระบบสามนตราช (Feudalism) ของยุโรปนี้แตกต่างจากระบบศักดินาไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบดังกล่าวข้างต้น ที่มีนาย และข้า ถัดลงไปตามลำดับ โดยระดับสูงคือจักรพรรดิที่อาจมีรัฐบริวาร (Vassal) รองลงมาคือ กษัตริย์ และ อาร์คดยุค เช่นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) กษัตริย์ก็มีข้ารองลงมา ปกครองดินแดนย่อยลงไปคือ ดยุค และถัดไปตามลำดับ ขุนนางและผู้ครองดินแดนของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
  1. ดยุค
  2. มาร์ควิส
  3. เอิร์ล (อังกฤษ) หรือ เคานท์ หรือ มากราฟ (ภาคพื้นยุโรป)
  4. ไวส์เค้านท์
  5. บารอน

ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดน อื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็นสหอาณาจักร และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครของอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับ ผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี ที่ดิน หรือ Estate เป็นของตนเอง มีข้าที่ดิน (serfs) คือสามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ

Modern

ศิลปะสมัยใหม่(Modern Art)
Modern Art

               
คริสต์ทศวรรษ 1860-1970  คำว่า โมเดิร์น (Modern คือคำวิเศษณ์ ตรงกับคำว่า "สมัยใหม่" ในภาษาไทย) หมายถึง ความใหม่ ความร่วมยุคร่วมสมัย ศิลปะล้วนแล้วแต่ "ใหม่ (modern)" สำหรับผู้สร้างมัน  ถึงแม้ว่าจะเป็น ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance, เรอเนอซองส์) ในฟลอเรนซ์ หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในนิวยอร์ค หรือศิลปะที่เขียนขึ้นในวันนี้ ในรูปแบบของศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ยัง "ใหม่ (modern)" ในความหมายนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ สิ่งที่ไม่เก่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ "เก่า" หรือ "ประเพณี" ดังเช่น ความสมัยใหม่ในบริบทของสังคมไทย ภาพเขียนของ ขรัวอินโข่ง หรือของ สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงสมัยใหม่สำหรับสังคมไทยในสมัยนั้นๆ เรา(คนไทย) มักจะนึก "ความเป็นฝรั่ง" พร้อมๆกับคำว่าสมัยใหม่ แต่ในความหมายเชิงประวัติศาสตร์ คำว่า "โมเดิร์น" ในศิลปะตะวันตกหมายถึงยุคสมัยจำเพาะในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างประมาณคริสต์ทศวรรษ 1860-1970 ในความหมายนี้สมัยใหม่ถูกใช้อธิบายรูปแบบและอุดมคติหรืออุดมการณ์ในการสร้าง สรรค์ในยุคนั้นๆ
              ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:
1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)
2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.
3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)
4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน
5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ในวิธีการที่เป็นพิเศษ
6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ
7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ

                กล่าวคือ ทัศนคติใหม่ๆที่มีต่ออดีตและอนาคต ซึ่งเป็นไปแบบสุดขั้ว โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคปฏิวัติของยุโรป ศิลปินเริ่มที่จะให้การยอมรับการเขียนภาพ "เหตุการณ์ปัจจุบัน-ร่วมสมัย" ในยุคของตนว่า สามารถมีคุณค่าทางศิลปะได้เท่าเทียมกับภาพเขียนเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ยุค โบราณ หรือยุคประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิล
การเปลี่ยนแปลงทางการ เมืองขนานใหญ่ทั่วยุโรปใน ปี 1848 ประกอบกับการอ่อนแรงของศิลปะแบบทางการ หรือ ศิลปะตามหลักวิชา (academic art) ทำให้กระแสศิลปะลัทธิสมัยใหม่ยิ่งเติบโต จิตรกรแนว นีโอ-คลาสสิสม์ (Neo-Classicism) อย่าง ฌาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) เขียนภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส จิตรกรแนว โรแมนติสิสม์ (Romanticism) อย่าง ฟรานซิสโก เดอ โกย่า (Francisco de Goya) เขียนภาพเหตุการณ์ตอนที่นโปเลียนจากฝรั่งเศสรุกรานสเปน เรื่องราวที่จิตรกรทั้งสองเขียนในภาพของพวกเขา ได้ช่วยแผ้วถางทางของศิลปะในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่เห็นได้จากงานศิลปะที่ปฏิเสธการเขียนภาพเกี่ยวกับอดีต ของศิลปิน เรียลลิสม์ (Realism, สัจนิยม) อย่างเช่น กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) และ เอดัวร์ มาเนต์ (Edouard Manet) 
              ในจุด เริ่มต้นของศิลปินสมัยใหม่ พวก อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist, Impressionism) และ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist, Post-Impressionism) จะทำการปฏิเสธทั้งการเขียนภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และยังไม่สนใจขนบของการสร้างภาพลวงตา (เขียนให้เหมือนจริงมาก) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา "ความใหม่" คือสิ่งที่ศิลปินสมัยใหม่ให้ความสำคัญ ทัศนคติแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในแนวคิดเกี่ยวกับ "อาวองท์-การ์ด" (avant-garde, หัวก้าวหน้า) คำนี้เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึง ทหารแนวหน้า (advance guard) ศิลปินอาวองท์-การ์ด หรือศิลปินหัวก้าวหน้า ได้กลายเป็นพวกที่ล้ำยุคล้ำสมัยของสังคม (ก้าวเร็วแซงหน้าจนชาวบ้านตามไม่ทัน) ถึงแม้ว่าความก้าวหน้ามากๆแบบนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แต่การที่ศิลปินอิสระจนหลุดพ้นไปจากกรอบของยุคสมัย บางทีก็ถูกปฏิเสธจากนักประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เหมือนกัน
                   บทบาทของผู้อุปถัมภ์ศิลปะในอดีตอย่าง ศาสนจักร รัฐ และขุนนาง ที่ลดลงไปอย่างมาก ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ลัทธิสมัยใหม่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะศิลปินสมัยใหม่จะมีอิสระเสรีที่จะคิดและทำศิลปะที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งต้องทำตามความชอบของผู้ว่าจ้าง นอกจากนี้ การค้าขายศิลปะตามระบบทุนนิยม ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินทำการทดลองอะไรที่แปลกใหม่ คำว่า "ศิลปะเพื่อศิลปะ" ที่เริ่มแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ยิ่งกระจายออกไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำๆนี้สามารถใช้อธิบายศิลปะที่เกิดจากความคิดส่วนตัวของศิลปิน ที่มีความเป็นปัจเจกสูงเสียจนไม่ต้องการการอ้างอิงไปถึงประเด็นทางสังคมและ ศาสนา
                   
การเติบโตของ ศิลปะสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการที่สังคมตะวันตกได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ "ความเป็นอุตสาหกรรม", "ความเป็นเมืองใหญ่แบบมหานคร" และการเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมอย่างเต็มที่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินสมัยใหม่ได้ท้าทายรสนิยมของชนชั้นกลาง โดยหาเรื่องและประเด็นใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ที่ดูแปลกประหลาดไปจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิม ศิลปะสมัยใหม่มักจะมีแนวเนื้อหาเกี่ยวกับ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยี การค้นหาจิตวิญญาณ และ การกระตุ้นด้วยความป่าเถื่อน (จากความสนใจในศิลปะของคนป่า (Primitivism)) ศิลปินได้แสดงออกแนวเนื้อหาเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย แนวเนื้อหาของการเฉลิมฉลองเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของการชื่นชม "ความเร็ว" ดังที่เห็นได้จากศิลปะในลัทธิ ฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) การใช้แนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นในงานของพวก คอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism ในสหภาพโซเวียต) การค้นหาจิตวิญญานจะมีอยู่ในงานของพวก ซิมโบลลิสม์ (Symbolism ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา) เดอ สตีล หรือ เดอะ สไตล์ (De Stijl/The Style ในเนเธอร์แลนด์) นาบิส (Nabis ในฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษ 1890) และ แดร์ บลาว ไรเตอร์ หรือ เดอะ บลู ไรเดอร์ (Der Blaue Reiter/The Blue Rider ในเมืองมิวนิค เยอรมนี) งานประเภทนี้ถือว่าเป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่ 
                     ความสนใจในความเถื่อนของศิลปะจากคนป่าและชาวเกาะ (อัฟริกันและชาวเกาะ หรือ โอเชียนนิค Oceanic) จะปรากฏชัดในงานของ โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ (Cubism) และ เยอรมัน เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (German Expressionism ในเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20) ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นผลของลัทธิ "จักรวรรดินิยม" (Imperialism) ที่นิยมล่าอาณานิคม และอ้างว่าตน (ตะวันตก) "ค้นพบ" วัฒนธรรมของดินแดนอันไกลโพ้นเหล่านั้น
The Scream by Edvard Munch, 1893


ที่มา  : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=warramutra&month=10-2007&date=29&group=1&gblog=15
http://pioneer.chula.ac.th/~yongyudh/papers/postmodern.htm